วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563


อาชญากรรมข้ามชาติในระดับสากล
       กองอานวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ (กปอ.) ซึ่งเป็นกลไกของรัฐที่รับผิดชอบ   เรื่องอาชญากรรมข้ามชาติได้ให้นิยาม อาชญากรรมข้ามชาติไว้ว่า หมายถึง การกระทำขององค์กร         หรือ กลุ่มบุคคล สมคบและร่วมมือกันกระทาความผิดต่อเนื่องจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งหรือ     หลายประเทศ อันเป็นความผิดตามกฎหมายและบทลงโทษของประเทศที่องค์กร หรือกลุ่มบุคคลเหล่านั้น   ดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมุ่งแสวงผลประโยชน์และอานาจที่ขัดต่อหลักกฎหมายและศีลธรรม  ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความมั่นคงของบุคคล องค์กร เศรษฐกิจ สังคม การเมือง  และอื่นๆ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  สำนักงานตารวจแห่งชาติ กำหนดนิยามศัพท์ อาชญากรรมข้ามชาติ ว่า หมายถึง การกระทำที่ประเทศที่     เกี่ยวข้องอย่างน้อยสองประเทศ ถือว่าเป็นความผิดกฎหมายอาญาและกำหนดโทษไว้ กระทำร่วมกันโดย     กลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ในรูปแบบขององค์กร มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ร่วม   กัน โดยมีการตระเตรียม การพยายามและลงมือกระทำความผิดต่อเนื่องกันจากประเทศหนึ่งไปยังอีก           ประเทศหนึ่งหรือหลายประเทศ
  ในระดับนานาชาติ องค์กรสหประชาชาติ (United Nations: UN) ได้ให้คำจากัดความของกลุ่มองค์กร         อาชญากรรม ไว้ว่า หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ดำรงอยู่มาเป็นระยะหนึ่ง     มีการประสานการดำเนินงานระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายในการกระทำอาชญากรรมร้ายแรงหนึ่งอย่างหรือ     มากกว่า หรือในการกระทำความผิดตามอนุสัญญานี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเงินหรือทางวัตถุ   อย่างอื่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
  อาชญากรรมข้ามชาติเป็น อาชญากรรมร้ายแรงซึ่งเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษจำคุกอย่างน้อย   4 ปี ขึ้นไป โดยที่ความผิดมีลักษณะ ข้ามชาติคือ ความผิดที่มีองค์ประกอบคือ
   1) กระทำในรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ
   2) กระทำในรัฐหนึ่ง แต่มีการเตรียมการ วางแผน สั่งการ หรือควบคุมในอีกรัฐหนึ่ง
   3) กระทำในรัฐหนึ่ง แต่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชญากรที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมทาง อาชญากรรมในรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ หรือ
   4) กระทำในรัฐหนึ่ง แต่มีผลกระทบสาคัญในอีกรัฐหนึ่ง    อาชญากรรมข้ามชาติเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการ

     โดยองค์กรอาชญากรรม ซึ่งมีลักษณะสาคัญคือ
  1) มีการจัด   ลำดับชั้นในองค์กร
  2) ไม่มีอุดมการณ์ หรือเป้าหมายทางการเมือง
  3) มีสมาชิกจานวนจำกัดเฉพาะกลุ่ม
  4) มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
  5) ใช้วิธีการผิดกฎหมาย และใช้ควมรุนแรง เช่น ข่มขู่ หรือติดสินบน
  6) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ แบ่งงานกันทำชัดเจน
  7) มีลักษณะเป็นการผูกขาด มีกฎข้อบังคับ ระหว่างสมาชิกชัดเจน และ
  8) ดำเนินการในลักษณะปิดลับ
 ด้วยตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหาดังกล่าว องค์การสหประชาชาติจึงได้มีมติรับอนุสัญญา  สหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรใน ค.ศ. 2000 (United Nations  Convention Against

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้จัดทำ นาย อนุสรณ์  พึ่งมี ชั้น ปวส.๒ แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ นาย ภาคภูมิ  ศรนารายณ์ ชั้น ปวส.๒ แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ครู...