วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

การดูแลสุขภาพ
สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางใจ ทางสังคม และทางปัญญา (จิตวิญญาณ) อย่างเป็นระบบ โดยเชื่อมโยงถึงเหตุปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ระบบบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และ ชุมชน
การดูแลสุขภาพตนเอง หมายถึง การปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลได้ริเริ่มและกระทำ เพื่อที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งชีวิต และสุขภาพ รวมทั้งสวัสดิ์ภาพของตนเอง
การดูแลสุขภาพที่บ้าน หมายถึง การดูแลสุขภาพโดยรวมของครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ในด้านการให้บริการด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล และครอบครัวที่บ้าน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การดำรงรักษาให้คงสภาวะสุขภาพที่ดี การดูแลสุขภาพตนเอง โดยการพึ่งตนเองของแต่ละคนในครอบครัวให้ได้มากที่สุด บริการที่ให้จะต้องเหมาะสมกับแต่ละบุคคลและครอบครัว ซึ่งผู้ให้บริการจะต้องวางแผนการให้บริการ การประสานงานอย่างครอบคลุม ผสมผสานอย่างเหมาะสม (รวมทั้งการดูแลฟัน การพยาบาล กายภาพบำบัด การให้คำปรึกษาอาชีวบำบัด สังคมสงเคราะห์ โภชนาการ แม่บ้าน พนักงานดูแลสุขภาพที่บ้าน การขนส่งผู้ป่วย และการตรวจชันสูตร บริการเครื่องมือแพทย์)
การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยหมายถึง การดูแลผู้ป่วยโดยตัวผู้ป่วยเอง หรือญาติที่อยู่ในครอบครัว ในการปฏิบัติตัวขณะอยู่ในโรงพยาบาลและที่บ้าน อาทิ ด้านการระวังรักษาสุขภาพอนามัย การรับประทานยา การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับโรค การออกกำลังกาย และการมาพบแพทย์ตามนัด รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่
การจัดระบบการดูแลสุขภาพที่บ้านเมื่อเจ็บป่วยหลังออกจากโรงพยาบาล หมายถึง การจัดระบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาล เพื่อการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยใช้  D-Method ของคิวคัสโซ (Cucuzzo) ประกอบด้วยตัวอักษรนำหน้าของคำต่างๆ รวมกัน ๗ คำ คือ
Diagnosis คือ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่
Medicine คือ ยาที่ผู้ป่วยใช้ขณะรักษาพยาบาล
Economic คือ เศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และการช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
Treatment คือ การปฏิบัติการพยาบาลเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย เช่น การทำแผล ฉีดยา
Health คือ การส่งเสริมสุขภาพของร่างกายและจิตใจ เช่น การออกกำลังกาย
Out patient คือ ข้อมูลเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน มีผู้ดูแล อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย ปัญหาของผู้ป่วย
Diet คือ อาหารที่เหมาะสมกับโรคของผู้ป่วย

ดูแลตนเองโดยกลุ่มเมื่อเจ็บป่วย หมายถึง การจัดกลุ่มผู้ป่วย ซึ่งมีปัญหาที่คล้ายคลึงกัน ใช้ประสบการณ์ในการช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาซึ่งกันและกัน โดยมีสมาชิกกลุ่มเป็นผู้นำ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้จัดทำ นาย อนุสรณ์  พึ่งมี ชั้น ปวส.๒ แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ นาย ภาคภูมิ  ศรนารายณ์ ชั้น ปวส.๒ แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ครู...