วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563


ในการทำงาน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และปัญหาที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ครั้ง ก็เป็นปัญหาที่ทีมงานคาดไม่ถึงมาก่อน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต้องใช้ไหวพริบ และเป็นการวัดกึ๋นของทีมได้เลยว่า มีการจัดการปัญหาได้ดีเพียงไร จริง ๆ แล้วเรื่องการแก้ไขปัญหาหลายคนอาจคิดว่า มันเป็นทักษะเฉพาะตัวหรือเปล่า ฝึกได้จริง ๆ เหรอ ขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่า ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ค่ะ ขอเพียงตั้งใจ แล้วทำตาม 6 ข้อด้านล่างนี้ เชื่อว่าจะช่วยพัฒนาสกิลการแก้ปัญหาได้บ้างไม่มากก็น้อย
1. ดูจากผู้มีประสบการณ์
          แน่นอนว่าไม่มีใครทำทุกอย่างเป็นตั้งแต่เกิด เมื่อเริ่มเข้าทำงานแรกยังเป็นหนุ่มสาวหน้าใหม่ไฟแรง มีโอกาสได้ทำงานใกล้ชิดกับหัวหน้าเก่ง ๆ ก็อย่าลืมรีบเร่งฉกฉวยโอกาสเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ที่ผู้มีประสบการณ์ถ่ายทอดให้ เริ่มแรกถ้ายังไม่มีประสบการณ์ก็เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์นี่แหล่ะดี อาจจะเป็นการเรียนรู้จากหน้างานเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจริงก็ได้ หรือเกิดจากการสอบถามถึงเคสต่าง ๆ ที่ผู้มีประสบการณ์เคยเจอ เคยผ่านมาให้พี่ ๆ เล่าให้ฟัง เพื่อเตรียมตัวโดยไม่ต้องรอให้ปัญหาเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยไปถาม แล้วเราจำไปใช้ก็ได้เช่นกันค่ะ
2. ทำความเข้าใจกับเรื่องที่ทำให้ถ่องแท้
          ฟังจากผู้มีประสบการณ์ก็คงช่วยได้จุดหนึ่ง แต่จะดีมาก ๆ ถ้าเรามีความเข้าใจพื้นฐานต่อเนื้องานที่เรากำลังทำอย่างถ่องแท้ เข้าใจในทุกมุม ความเข้าใจช่วยได้ในหลายส่วนหากมีปัญหาที่ไม่ได้คาดคิดเกิดขึ้น เราจะรู้ทันทีว่าต้องไปตามแก้ที่จุดไหน กับใคร และเราจะสามารถ catch up งานได้ทันว่า โปรเจกต์นี้ดำเนินการไปถึงจุดไหนแล้ว
3. ฝึกวิเคราะห์ปัญหา
          การรู้เหตุแห่งปัญหา และผลที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง และไม่หลอกตัวเองย่อมทำให้รู้หนทางแห่งการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เมื่อทำงานมาได้ระยะหนึ่ง เริ่มรู้และเข้าใจ flow การทำงานทั้งหมด สิ่งที่สำคัญก็คือต้องฝึกคิดวิเคราะห์แยกแยะปัญหาให้เป็น เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างแม่นยำ
4. ฟังอย่างแตกฉาน
          ที่สำคัญไม่แพ้การพูด ก็คือ การฟังหลายคนเข้าใจผิด หลงลืมมองข้ามการฟังที่ดีไป ทำให้ตีความผิดในหลายเรื่องและนำมาซึ่งความไร้ประสิทธิภาพของการแก้ปัญหา เวลาฟัง จงฟังอย่างตั้งใจ และคิดตามไปด้วย อย่าได้ใจลอย คิดไปถึงเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญจับประเด็นให้ได้ ว่าผู้ส่งสารต้องการจะบอกอะไรกับเราบ้าง แล้วเราจะนำมาวางแผนการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี
5. เล่าให้มีประเด็น
          สลับกันกับข้อด้านบน เวลาเป็นคนเล่า ก็ต้องเล่าอย่างมีประเด็นด้วย เล่าให้ผู้ฟังเข้าใจว่าเราต้องการจะสื่อสารอะไรกับเรื่องนี้ และจะขอความเห็นใน next step อย่างไรก็ว่ากันไป การจะเล่าก็ต้องเตรียมตัว เรียบเรียงประเด็นต่าง  ๆ นหัวแล้วค่อยพรั่งพรูออกมา ในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นแล้วต้องเล่า ต้องพยายามเล่าให้ครบถ้วนใจความแต่กระชับมากที่สุด เพื่อจะได้เอาเวลาไปคิดวางแผนวิธีรับมือแก้ไขกับปัญหาได้ทัน
6. ทีมเวิร์ค
          สุดท้ายคือเรื่องราวของทีมเวิร์ค ในบางครั้ง ปัญหาที่เกิดขึ้นมาออาจไม่ใหญ่โตมากนัก ลำพังคนเพียงคนเดียวก็เอาอยู่ แต่อีกในหลายครั้งหลายคราที่ปัญหาเกิดมา ต้องการทีมงานมาช่วยกันแก้ไขปัญหา คน ๆ เดียวอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมดอย่างรวดเร็วทันการณ์ การทำงานการเป็นทีมเวิร์คจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ทุกคนต้องรู้หน้าที่ของตัวเองว่าบทบาทของเราจะช่วยแก้ปัญที่เกิดขึ้นได้ตรงไหน และพยายามผลักดันให้การแก้ปัญหาได้ลุล่วงไปถึงเป้าหมายได้ในที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้จัดทำ นาย อนุสรณ์  พึ่งมี ชั้น ปวส.๒ แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ นาย ภาคภูมิ  ศรนารายณ์ ชั้น ปวส.๒ แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ครู...