วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563


อาชญากรรมข้ามชาติในระดับสากล
       กองอานวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ (กปอ.) ซึ่งเป็นกลไกของรัฐที่รับผิดชอบ   เรื่องอาชญากรรมข้ามชาติได้ให้นิยาม อาชญากรรมข้ามชาติไว้ว่า หมายถึง การกระทำขององค์กร         หรือ กลุ่มบุคคล สมคบและร่วมมือกันกระทาความผิดต่อเนื่องจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งหรือ     หลายประเทศ อันเป็นความผิดตามกฎหมายและบทลงโทษของประเทศที่องค์กร หรือกลุ่มบุคคลเหล่านั้น   ดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมุ่งแสวงผลประโยชน์และอานาจที่ขัดต่อหลักกฎหมายและศีลธรรม  ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความมั่นคงของบุคคล องค์กร เศรษฐกิจ สังคม การเมือง  และอื่นๆ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  สำนักงานตารวจแห่งชาติ กำหนดนิยามศัพท์ อาชญากรรมข้ามชาติ ว่า หมายถึง การกระทำที่ประเทศที่     เกี่ยวข้องอย่างน้อยสองประเทศ ถือว่าเป็นความผิดกฎหมายอาญาและกำหนดโทษไว้ กระทำร่วมกันโดย     กลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ในรูปแบบขององค์กร มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ร่วม   กัน โดยมีการตระเตรียม การพยายามและลงมือกระทำความผิดต่อเนื่องกันจากประเทศหนึ่งไปยังอีก           ประเทศหนึ่งหรือหลายประเทศ
  ในระดับนานาชาติ องค์กรสหประชาชาติ (United Nations: UN) ได้ให้คำจากัดความของกลุ่มองค์กร         อาชญากรรม ไว้ว่า หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ดำรงอยู่มาเป็นระยะหนึ่ง     มีการประสานการดำเนินงานระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายในการกระทำอาชญากรรมร้ายแรงหนึ่งอย่างหรือ     มากกว่า หรือในการกระทำความผิดตามอนุสัญญานี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเงินหรือทางวัตถุ   อย่างอื่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
  อาชญากรรมข้ามชาติเป็น อาชญากรรมร้ายแรงซึ่งเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษจำคุกอย่างน้อย   4 ปี ขึ้นไป โดยที่ความผิดมีลักษณะ ข้ามชาติคือ ความผิดที่มีองค์ประกอบคือ
   1) กระทำในรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ
   2) กระทำในรัฐหนึ่ง แต่มีการเตรียมการ วางแผน สั่งการ หรือควบคุมในอีกรัฐหนึ่ง
   3) กระทำในรัฐหนึ่ง แต่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชญากรที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมทาง อาชญากรรมในรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ หรือ
   4) กระทำในรัฐหนึ่ง แต่มีผลกระทบสาคัญในอีกรัฐหนึ่ง    อาชญากรรมข้ามชาติเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการ

     โดยองค์กรอาชญากรรม ซึ่งมีลักษณะสาคัญคือ
  1) มีการจัด   ลำดับชั้นในองค์กร
  2) ไม่มีอุดมการณ์ หรือเป้าหมายทางการเมือง
  3) มีสมาชิกจานวนจำกัดเฉพาะกลุ่ม
  4) มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
  5) ใช้วิธีการผิดกฎหมาย และใช้ควมรุนแรง เช่น ข่มขู่ หรือติดสินบน
  6) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ แบ่งงานกันทำชัดเจน
  7) มีลักษณะเป็นการผูกขาด มีกฎข้อบังคับ ระหว่างสมาชิกชัดเจน และ
  8) ดำเนินการในลักษณะปิดลับ
 ด้วยตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหาดังกล่าว องค์การสหประชาชาติจึงได้มีมติรับอนุสัญญา  สหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรใน ค.ศ. 2000 (United Nations  Convention Against


การดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย


 วิถี  หมายถึง  สาย  แนว  ทาง  ถนน
ประชาธิปไตย”  หมายถึง  แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่
                ดังนั้นคำว่า “พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย”  จึงหมายถึง  พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ  คือ  เป็นผู้ที่ยึดมั่น
ในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา  มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต  ปฏิบัติตนตามกฎหมาย
ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ 
ให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย
                หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญ  ได้แก่
1)      หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน  หมายถึง  ประชาชนเป็นเจ้าของ  อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ
2)      หลักความเสมอภาค  หมายถึง  ความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย  ถือว่าทุกคนที่เกิดมาจะมีความ
      เท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐ  ได้แก่  มีสิทธิเสรีภาพ  มีหน้าที่เสมอภาคกัน ไม่มีการแบ่งชน       ชั้น
      หรือการเลือกปฏิบัติ  ควรดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ข่มเหงรังแกคนที่อ่อนแอหรือยากจนกว่า
3)      หลักนิติธรรม  หมายถึง  การใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน เพื่อความสงบสุขของสังคม
4)      หลักเหตุผล  หมายถึง  การใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินหรือยุติปัญหาในสังคม
5)      หลักการถือเสียงข้างมาก  หมายถึง  การลงมติโดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในสังคมประชาธิปไตย  ครอบครัว
       ประชาธิปไตย  จึงใช้หลักการถือเสียงข้างมากเพื่อลงมติในประเด็นต่าง ๆ  ได้อย่างสันติวิธี
6)      หลักประนีประนอม  หมายถึง  การลดความขัดแย้งโดยการผ่อนหนักผ่อนเบาให้กัน  ร่วมมือกันเพื่อเห็นแก่ประโยชน์
      ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
      หลักการทางประชาธิปไตยจึงเป็นหลักการสำคัญที่นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคม  เพื่อก่อให้เกิดความสงบสุข ในสังคมได้
แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย
                พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยควรมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้ คือ
1)      ด้านสังคม  ได้แก่
(1)    การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล
(2)    การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น
(3)    การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า
(4)    การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์
(5)    การเคารพระเบียบของสังคม
(6)    การมีจิตสาธารณะ  คือ  เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาสาธารณสมบัติ
2)      ด้านเศรษฐกิจ  ได้แก่
(1)    การประหยัดและอดออมในครอบครัว
(2)    การซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ
(3)    การพัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า
(4)    การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
(5)    การสร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก
(6)    การเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี   มีความซื่อสัตย์  ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติเป็นสำคัญ
3)      ด้านการเมืองการปกครอง  ได้แก่
(1)    การเคารพกฎหมาย
(2)    การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
(3)    การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า
(4)    การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
(5)    การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม  กล้าเสนอตนเองในการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 
      หรือสมาชิกวุฒิสภา
(6)    การทำงานอย่างเต็มความสามารถ  เต็มเวลา




การแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict Resolution)
             สำหรับพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงนั้น จะเริ่มจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารแล้วแสดงออกโต้ตอบกันไปมา จนเกิดเกลียวแห่งความขัดแย้ง (Spiral of Conflict) ที่ต่างคนต่างมีปฏิกิริยาตอบโต้กัน โดยจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดกลายเป็นความขัดแย้งที่มีความรุนแรง ซึ่งถ้าไม่สามารถยุติวงจรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้นั้น ก็จะนำไปสู่การทำลายล้างกัน เอาชนะคะคานกัน หรือ ที่เรียกว่า ความขัดแย้งแบบทำลายล้าง (Destructive Conflict) ส่วนทางออกของความขัดแย้งนั้นจะขึ้นอยู่กับแนวทางที่ต่างฝ่ายต่างเลือก ซึ่งพฤติกรรมเพื่อหาทางออกเมือเกิดความขัดแย้งนั้นใน ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ได้จำแนกออกเป็น (หนังสือ ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหาพิมพ์ครั้งที่ 2 ของ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ สถาบันพระปกเกล้า 2547 หน้าที่ 180 - 182)
            - การแข่งขันหรือวิธีของฉัน (Competing or My Way): พฤติกรรมแนวนี้จะยึดถือความพยายามที่จะเอาชนะ มักจะเป็นวิธีการของผู้ที่มีอำนาจที่จะใช้อำนาจทุกวิถีทาง โดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น
            - การหลีกเลี่ยงหรือยอมถอย (Avoiding or No Way): เป็นพฤติกรรมที่พยายามหลีกเลี่ยงปัญหาหรือยอมถอย ซึ่งจะพบมากในกลุ่มประเทศเอเชีย และกลุ่มประเทศลาตินอเมริกัน
            - การประนีประนอมหรือแบ่งคนละครึ่ง (Compromising or Half War): เป็นวิธีที่ประสานการร่วมมืออย่างหนึ่ง หรือที่เรารู้จักกันดีคือ การเดินสายกลาง
            - การยอมตามหรือแล้วแต่ผู้ใหญ่ (Accommodating or Your Way): เป็นพฤติกรรมที่สังคมชอบปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นไปที่การรักษาความสัมพันธ์สูง มีความต้องการที่จะผลักดันความพยายามของตนเองน้อย ยอมรับแนวความคิดของคนอื่นโดยยกเลิกความต้องการของตนเอง คือ ยอมรับเชื่อฟังคำตัดสิน หรือคำสั่ง
            - การร่วมมือกันหรือวิธีการของเรา (Collaborating or Our Way): เป็นพฤติกรรมที่ทั้งสองฝ่ายพยายามที่จะหาทางบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน เป็นการประสานประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ในลักษณะที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์
            ส่วนกระบวนการในการจัดการความขัดแย้งสามารถนำเสนอได้ตามตารางที่ 1 โดยผลของการตัดสินใจที่เป็นลักษณะ ชนะ-ชนะ (Win-Win) จะเกิดจาก การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง และ การเจรจาไกล่เกลี่ย
            ถ้าคู่พิพาทเลือกใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาผลที่ได้จะต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ และอีกฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้ อย่างไรก็ดี หลาย ๆ คนมักจะมีความเชื่อว่า ความรุนแรงจะช่วยยุติความขัดแย้งได้ เช่น การทิ้งระเบิดปรมาณูของสหรัฐ ฯ ที่ฮิโรชิมา และนางาซากิ เพราะต้องการให้สงครามในภาคพื้นแปซิฟิกยุติโดยเร็ว และลดการสูญเสียนาวิกโยธินของตนเองในการขึ้นยึดเกาะญี่ปุ่น แต่ความรุนแรงมักจะไม่ใช่คำตอบเสมอไป เช่น ยุทธการเสรีภาพยั่งยืน (Operation Enduring Freedom) ของสหรัฐ ฯ ที่นำกำลังบุกเข้าไปในอัฟกานิสถาน เพื่อตามล่า บินลาดิน และล้มล้างรัฐบาลตอลีบาน ซึ่งสหรัฐ ฯ สามารถล้มล้างตอลีบานได้แต่ ความขัดแย้งยังไม่ได้ยุติ เพราะทุกวันนี้สหรัฐ ฯ ต้องคงกำลังไว้ที่อัฟกานิสถาน และทหารสหรัฐ ฯ เองก็ยังมีการสูญเสียอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับ ยุทธการปลดปล่อยชาวอิรัก (Operation Iraqi Freedom) หรือที่รู้จักกันในชื่อ สงครามอ่าวภาค 2 ที่สหรัฐ ฯ ยุติสงครามลงภายในเวลาไม่กี่วัน แต่ความรุนแรงยังคงมีอยู่ในอิรักตลอดเวลาจนมาถึงทุกวันนี้
        ถึงตรงนี้คงมีคำถามตามมาว่าแล้ว อะไรคือสันติวิธีดร.มาร์ค ตามไท ได้กล่าวถึงสันติวิธีไว้ว่า สันติวิธีนั้นมีอยู่สองลักษณะคือ สันติวิธีในการต่อสู้เรียกร้องให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการและสันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง” (อ้างถึงในหนังสือ ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหาพิมพ์ครั้งที่ 2 ของ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ สถาบันพระปกเกล้า 2547 หน้าที่ 101 - 103) โดยมีรายละเอียดดังนี้
            - สันติวิธีในการต่อสู้หรือเรียกร้อง (Peaceful Demonstrate/Protest): แนวทางในการต่อสู้นี้เป็นแนวทางที่ถูกนำมาใช้ เมื่อ เกิดความไม่พอใจหรือมีความเห็นไม่สอดคล้องกับผู้ที่มีอำนาจ มีการดำเนินการในลักษณะของการประท้วง หรือ การเรียกร้อง หรือการต่อสู้โดยการยื่นหนังสือขอเข้าพบ หรือ การชุมนุมกันเพื่อแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วย หรือ แสดงออกถึงความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้มีอำนาจ โดย สงบ สันติ ไม่มีอาวุธ การต่อสู้ในแนวทางนี้จะมีชื่อเรียกกันว่า การดื้อแพ่ง” (Civil Disobedience) ซึ่งแนวทางนี้เป็นแนวทางทีมีต้นแบบจากแนวทางการต่อสู่แบบ อหิงสาของ มหาตมคานธี ในการต่อสู้เรียกร้องเอกราชของอินเดีย
            - สันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Peaceful Conflict Resolution): สำหรับแนวทางนี้เป็นแนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหาหลักจากที่ความขัดแย้งหรือข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้ว และพยายามที่จะยุติความขัดแย้งโดยการใช้แนวทางที่สันติ ซึ่งแนวทางที่เด่นชัดที่สุดได้แก่ การเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation) กันเองระหว่างคู่พิพาท หรือ โดยมีคนกลางซึ่งเป็นบุคคลที่สาม (เป็นบุคคลเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้) ช่วยในกระบวนการไกล่เกลี่ยและไม่ได้ทำหน้าที่ตัดสินชีขาดแต่จะเป็นผู้กำกับการเจรจาให้ดำเนินไปได้อันจะนำไปสู่ทางออก คือการยุติความขัดแย้ง
           จากที่กล่าวมาจะพบว่า การแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดจะเป็นการเจรจาไกล่เกลี่ย และ การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง เพราะผลลัพธ์ที่น่าจะเป็นไปในลักษณะที่ทั้งสองฝ่ายต่างชนะ (Win-Win) ซึ่งการไกล่เกลี่ยนั้นมีหลายรูปแบบ แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยครั้งคือ
            - การเจรจาโดยยึดจุดยืน (Position-based Negotiation): การเจรจาในลักษณะนี้จะเป็นการเจรจาที่จะเอาแพ้ชนะเอาชนะกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนของตนเอง คู่เจรจาจะปฏิบัติต่อกันเหมือนเป็นศัตรูกัน ความเชื่อของการเจรจานี้จะเป็นลักษณะ Zero Sum Game ตามแนวคิดในทฤษฏีเกม (Game Theory) ที่ถ้าไม่แพ้ก็ต้องชนะ ผลของการเจรจาเช่นนี้มักยอมรับครึ่งทาง (Compromise) แต่การเจรจาในลักษณะนี้ไม่ควรจะนำมาใช้ในกรณีของความขัดแย้งในนโยบายสาธารณะ
            - การเจรจาโดยยึดผลประโยชน์ (Interest-based Negotiation): การเจรจาในลักษณะนี้ไม่มองถึงประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว แต่จะมองและทำความเข้าใจของความต้องการ ความห่วงกังวลของฝ่ายอื่น การเจรจาลักษณะนี้จะเกิดจากคู่เจรจาทุกฝ่ายมาร่วมกัน แก้ปัญหา เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันโดยหวังให้ความต้องการของทุกฝ่ายได้รับการตอบสนอง ทุกฝ่ายจะไม่ระบุถึงจุดยืนของตนเอง แต่จะบอกถึง ความหวัง ความต้องการ ความห่วงกังวล ความหวาดระแวง

            การทำความเข้าใจในเรื่องของความขัดแย้งและการยุติด้วยสันติวิธี เป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เพราะนวัตกรรมต่าง ๆ ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อันจะนำมาซึ่งความขัดแย้งในที่สุด ดังเช่นสถานการณ์ปัจจุบัน เราคงต้องยอมรับว่าบ้านเมืองของเราไม่เคยมีการแตกแยกทางความติดอย่างนี้มาก่อน ดังนั้นถ้าแกนนำของแต่ละฝ่ายมองไปยังผลประโยชน์ของประเทศชาติ มากกว่าผลประโยชน์ของตนเองแล้ว ผมเชื่อว่าเราคงผ่านวิกฤตการณ์ตรงนี้ไปได้ ประเทศไทยไม่ได้ขึ้นกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่บุคคลทุกภาคส่วนต่างหากคือผู้ที่จะนำพาประเทศไทยเดินไปข้างหน้า ประชาธิปไตยนั้นเสียงส่วนใหญ่ (Majority Rule)


เทคนิคการพูดจูงใจ

ดังนั้นทักษะการพูดจึงเป็นสิ่งสำคัญและควรฝึกฝน ซึ่งทักษะการพูดนั้นก็มีหลายแบบ เช่น ทักษะการพูดนำเสนอ การโน้มน้าวใจ การเล่าเรื่อง เป็นต้น ซึ่งในวันนี้แคมปัส-สตาร์ มีเทคนิคการพูดจูงใจหรือโน้วน้าวใจผู้อื่น ให้เห็นด้วยหรือคล้อยตามได้ง่ายๆ มาฝากกัน

1. ต้องมีความมั่นใจ

ในการพูดคุยทุกๆ ครั้ง เราควรมีความมั่นใจในตนเอง มั่นใจในสิ่งที่ต้องการพูดหรือสื่อสารออกไป เพราะความมั่นใจจะถูกสื่อออกมาผ่านน้ำเสียง หากผู้พูดมีความมั่นใจน้ำเสียงที่ถูกเปล่งออกมาจะหนักแน่นและน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้พูดสามารถจูงใจหรือโน้มน้าวผู้ฟังได้

2. ต้องมีบุคลิกภาพที่ดี

ลักษณะภายนอกเป็นสิ่งแรกที่คนเรามองเห็น ดังนั้นบุคลิกภาพของผู้พูดก็เป็นสิ่งที่ผู้ฟังสังเกตเห็นได้เป็นอันดับแรก ผู้พูดจึงต้องใส่ใจในการดูแลบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอก เพราะจะช่วยสนับสนุนความน่าเชื่อถือและคำพูดที่สื่อสารออกไป

3. ต้องมีการยกตัวอย่าง

ในการพูดจูงใจหรือโน้มน้าวใจ ควรจะมีการยกตัวอย่างประกอบกับสิ่งที่ต้องการจูงใจ ซึ่งตัวอย่างที่ยกขึ้นมาก็ควรเป็นตัวอย่างที่ผู้ฟังสามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้หรือควรเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สัมผัสได้ เพื่อให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมและเห็นด้วยกับตัวอย่างนั้นๆ

4. ต้องมีอายคอนแทค

อายคอนแทค หรือ การสบตากับผู้ฟัง เป็นหนึ่งในการสื่อสารทางร่างกายที่บ่งบอกถึงความมั่นใจและความน่าเชื่อถือของผู้พูด ผู้พูดที่ไม่มีอายคอนแทคจะไม่สามารถทำให้ผู้ฟังสนใจในสิ่งที่พูดหรื่ออยู่กับเรื่องราวนั้นๆ ได้

5. ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

เมื่อผู้พูดได้พูดในสิ่งที่ต้องการจูงใจแล้ว ก็ควรที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้พูดคุยหรือแสดงความคิดเห็นบ้าง โดยผู้พูดที่กลายเป็นผู้ฟังก็ควรจะตั้งใจรับฟังความคิดเห็นนั้นๆ ไม่ควรปิดกั้น เพราะจะทำให้เรากลายเป็นคนที่ยึดติดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เอาความคิดตนเองเป็นใหญ่ ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถโน้มน้าวหรือจูงใจผู้อื่นได้

6. ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี

เมื่อผู้พูดควรจะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ก็ต้องปฏิบัติตนให้เป็นผู้ฟังที่ดีด้วย คือต้องตั้งใจฟัง มีสมาธิ ไม่พูดแทรก และมีรีแอคชั่นตอบกลับบ้าง เช่น พยักหน้า ตอบรับครับ/ค่ะ เป็นต้น ซึ่งการเป็นผู้ฟังที่ดีก็จะช่วยสนับสนุนความน่าเชื่อถือเมื่อเราอยู่ในฐานะผู้พูดอีกด้วย

7. ต้องสอดแทรกอารมณ์ขันบ้าง

หากการพูดคุยนั้นมีแต่เนื้อหาเพียงอย่างเดียว ก็จะทำให้การสนทนาหรือการสื่อสารนั้นๆ น่าเบื่อและไม่น่าสนใจ แต่ถ้าสอดแทรกมุกตลก หรือสถานการณ์ตัวอย่างสนุกๆ ลงไป ทำให้ผู้ฟังได้ผ่อนคลายบ้างก็จะทำให้การพูดคุยไม่น่าเบื่อและสามารถดำเนินการสนทนาได้ยาวขึ้น


ผู้จัดทำ นาย อนุสรณ์  พึ่งมี ชั้น ปวส.๒ แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ นาย ภาคภูมิ  ศรนารายณ์ ชั้น ปวส.๒ แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ครู...